*อย่าเพิ่งซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า หากคุณยังไม่เคยอ่านบนความนี้ เพียงใช้เวลาอ่าน 10-20 นาที ก็สามารถช่วยให้คุณประหยัดเงินได้ตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นบาท
ให้คุณประหยัดเงินได้หลักพัน ถึงหมื่น

IRONTEC จัดทำบทความนี้ขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจจะซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า ทั้งผู้ที่ยังไม่เคยซื้อหรือเคยซื้อ ก็สามารถอ่านได้ โดยทางเราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณ

มีอยู่ “16 ข้อ” ที่คุณต้องรู้ ก่อนที่คุณจะเลือกลู่วิ่งไฟฟ้าในราคาที่คุ้มค่าและตรงตามความต้องการของคุณ เมื่ออ่านจบ หากยังมีข้อสงสัยอยู่ ทางเรายินดีให้คำแนะนำเพิ่มเติม

16 ข้อที่คุณต้องเข้าใจ ก่อนเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า

หากคุณเริ่มหาข้อมูลในการซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า คุณจะพบว่ารายละเอียดนั้นมีมากมาย ทำให้เกิดความสับสนว่าควรเลือกเครื่องแบบไหนดี จุดไหนที่ควรเปรียบเทียบเพื่อที่จะได้เลือกรุ่นที่เหมาะสมกับงบประมาณและวัตถุประสงค์การใช้งานมากที่สุด ทาง IRONTEC ได้ทำสรุปจุดเปรียบเทียบทั้งหมดให้ 16 จุด เพื่อที่จะทำให้คนที่ไม่เคยซื้อลู่วิ่งไฟฟ้าเลย ได้มีความรู้เบื้องต้นในการหาข้อมูลต่อ

ข้อ 1. ลู่วิ่งมีกี่แบบ

ลู่วิ่งนั้นมีอยู่ 3 แบบหลักๆด้วยกัน (1) ลู่วิ่งไฟฟ้า สำหรับคนทั่วไป (2) ลู่วิ่งไฟฟ้า สำหรับผู้สูงอายุ และ (3) ลู่วิ่ง แบบไม่ใช้ไฟฟ้า (ไม่มีมอเตอร์) ทั้งสามแบบนี้มีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน

สำหรับคนออกกำลังกายทั่วไป ส่วนมากจะเลือกลู่วิ่งไฟฟ้าแบบแรก เป็นแบบมีจำหน่ายเยอะที่สุดในตลาด เป็นเครื่องออกกำลังกายที่ใช้ไฟ ขับเคลื่อนสายพานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 

สำหรับลู่วิ่งแบบที่ 2 จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเหมือนกัน แต่จะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เพราะว่าออกแบบมาให้มีความปลอดภัยกว่า มีราวจับที่ยาวกว่าลู่วิ่งปกติ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถประคองตัวได้ง่ายกว่า สามารถใช้เดินช้าๆเช่นในการทำกายภาพบำบัด และ วิ่งเร็วได้เหมือนลู่วิ่งแบบปกติ

ลู่วิ่งแบบสุดท้าย เป็นลู่วิ่งที่ไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่มีมอเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องเป็นคนออกแรงเพื่อให้สายพานนั้นขยับ สำหรับลู่วิ่งแบบนี้จะได้ความรู้สึกเหมือนการวิ่งจริงๆบนถนน และการดูแลรักษาที่ง่าย เพราะไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่มีระบบไฟและแผงวงจร โอกาสในการชำรุดจะน้อยกว่า

ข้อ 2. ความแรงมอเตอร์ แตกต่างกันอย่างไร

ลู่วิ่งแต่ละรุ่นมีกำลังมอเตอร์ที่แตกต่างกัน และจะใช้คำเรียกว่า “แรงม้า” คุณจะพบเห็นลู่วิ่งตั้งแต่ 1 แรงม้าไปถึง 7-8 แรงม้า ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนว่าควรเลือกแรงม้าเท่าไหร่ที่จะเหมาะกับการใช้งาน ซึ่งเครื่องที่มีแรงม้าเยอะราคาก็จะแรงตาม 

คำแนะนำมาตรฐานของเราคือ (1) หากคุณใช้เพียงแค่เดินเร็ว จ็อกกิ่งเบาๆ เลือกลู่วิ่งที่มี 2 แรงม้าขึ้นไป (2) สำหรับคนที่วิ่งจริงจัง วิ่งเร็ว และใช้งานที่บ้าน ให้เลือกรุ่นที่มีแรงมาก 3-4 แรงม้าขึ้นไป (3) สำหรับการใช้งานในเชิงพาณิชย์ มีการใช้งานหลายคน และต่อเนื่องเป็นเวลานาน ให้เลือกเครื่องที่มี 5 แรงม้าขึ้นไป (เราจะมีพูดถึงชนิดของมอเตอร์ในข้อถัดไป) 

แน่นอนว่าลู่วิ่งที่มีแรงม้าน้อย จะมีมอเตอร์ที่เล็ก ความคงทนอาจจะสู้มอเตอร์ขนาดใหญ่ไม่ได้ (แรงม้าเยอะ) โดยเฉพาะผู้เล่นที่มีน้ำหนักตัวมาก การที่เลือกมอเตอร์ที่เล็กเกินไปจะทำให้มอเตอร์นั้นทำงานหนักและลดอายุการใช้งานได้

หากงบประมาณพอแนะนำให้เลือกรุ่นที่มีมอเตอร์ใหญ่หน่อย เพื่อลดปัญหาในระยะยาว

ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า

มอเตอร์ลู่วิ่งมีอยู่ 2 แบบ (1) DC มอเตอร์ วัตถุประสงค์สำหรับใช้งานที่บ้าน และ (2) AC มอเตอร์ วัตถุประสงค์สำหรับใช้งานเชิงพาณิชย์ เช่นฟิตเนส คอนโด โรงแรม เป็นต้น 

  • มอเตอร์ DC เป็นมอเตอร์สำหรับใช้งานในบ้าน ราคาถูก มีประสิทธิภาพ อะไหล่ราคาไม่แพง แต่จะมีความคงทนที่น้อยกว่า มอเตอร์ AC แต่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลหากคุณใช้งานในบ้าน ภายในครอบครัว สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง 45-90 นาที และควรพักเครื่องอย่างน้อย 15-20 นาทีก่อนการใช้งานครั้งต่อไป เพื่อยืดอายุการใช้งาน ลู่วิ่งส่วนมากในท้องตลาด จะเป็นระบบ มอเตอร์ DC เกือบทั้งหมด 
  • มอเตอร์ AC เป็นมอเตอร์สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์โดยเฉพาะ เน้นการใช้งานอย่างหนัก ใช้งานแบบต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องหยุดพัก ใช้งานต่อเนื่องได้หลายชั่วโมง เช่นในฟิตเนส ที่มีผู้ต่อคิวใช้งานอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดประสงค์ที่สามารถใช้งานได้แบบหนักหน่วงนี้ ทำให้มอเตอร์ AC มีราคาที่สูงกว่า มอเตอร์ AC และไม่คุ้มที่จะทำมอเตอร์ AC มาใช้งานที่บ้าน เนื่องจากราคาสูงกว่ามาก

ข้อสรุปคือหากคุณใช้งานที่บ้านภายในครอบครัว ให้เลือกมอเตอร์ DC และ หากคุณใช้งานเชิงพาณิชย์ ให้เลือก ลู่วิ่งที่มีมอเตอร์ AC เท่านั้น

เปรียบเทียบ แบบมอเตอร์ และ ราคา

ในภาพตัวอย่างด้านบน เราได้นำลู่วิ่งมาเปรียบเทียบให้ดู 5 รุ่น แตกต่างกันที่ขนาดมอเตอร์ ชนิดของมอเตอร์ ขนาดของเครื่อง และน้ำหนักของเครื่อง สำหรับการใช้งานที่บ้าน ควรเลือกมอเตอร์ DC เป็นหลัก เช่นตัวอย่างลู่วิ่ง 3 ตัวแรก ราคาสำหรับลู่วิ่งใช้งานที่บ้านจะอยู่ที่ ประมาณ 10,000 – 40,000 บาท แล้วแต่ขนาดของเครื่อง ความแข็งแรง ฟังก์ชั่น ขนาดพื้นที่วิ่ง และ กำลังมอเตอร์ แต่ส่วนมากยิ่งลู่วิ่งที่ตัวใหญ่ มอเตอร์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ

สำหรับลู่วิ่งที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ ให้เลือก มอเตอร์ AC เท่านั้น เช่นตัวที่ 4 และ 5 ในภาพจะเป็นเกรดสำหรับใช้งานส่วนรวมโดยเฉพาะ มอเตอร์จะมีกำลังสูง ลู่วิ่งจะมีโครงสร้างที่ใหญ่กว่า และแข็งแรงกว่า แต่ราคาก็จะโดดขึ้นไปเช่นกัน ลู่วิ่งไฟฟ้า เชิงพาณิชย์ราคาจะเริ่มต้นที่ 40,000 – 100,000 บาท เป็นต้นไป

คำแนะนำในการเปรียบเทียบสินค้า

การเลือกลู่วิ่ง ในด้านความแข็งแรง และ ความคงทน นั้นต้องดู 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) ราคาสินค้า (2) ขนาดมอเตอร์ (3) น้ำหนักเครื่อง โดยนำปัจจัยเหล่านี้มาเปรียบเทียบกัน
เราไม่สามารถเลือกลู่วิ่งเพียงดูจากข้อใดข้อหนึ่งได้ เพราะทั้งสามปัจจัยนี้จะขึ้นลงไปในทางเดียวกันเสมอ

ยกตัวอย่างที่ 1: หากเราเห็น ลู่วิ่งที่มี (1) ราคาต่ำ แต่เคลมว่ามี (2) มอเตอร์กำลังแรง และ มี (3) น้ำหนักเครื่องที่เบา เราต้องตั้งข้อสังเกตถึงความน่าเชื่อถือของร้านๆนั้น เพราะลู่วิ่งที่มี (1) ราคาถูก มักจะมากับ (2) มอเตอร์ที่เบา และ (3) น้ำหนักเครื่องที่น้อยเสมอ

ยกตัวอย่างที่ 2 : หรือหากเราเจอ (1) ลู่วิ่งที่ราคาสูง และมี (2) มอเตอร์ที่เบา (3) แต่มีน้ำหนักเครื่องน้อย เราก็ต้องตังข้อสังเกตุเหมือนกันว่าร้านๆนั้นได้จำหน่ายสินค้าราคาเกิดสเปคไปหรือเปล่า

หากเราใช้ 3 ปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น
นี้ และเลือกดูลู่วิ่งของหลาย ๆ ร้าน หลาย ๆ รุ่น เราจะเกิดความเข้าใจ และทำให้เราเลือกเครื่องที่เหมาะที่สุดสำหรับเรา

ข้อ 3. เกรดของลู่วิ่ง 3 เกรด

หลังจากเราเข้าใจเรื่องของมอเตอร์ DC (ใช้ที่บ้าน) และ AC (ใช้เชิงภานิชย์) เรามาทำความเข้าใจต่อเกี่ยวกับ เกรดของลู่วิ่ง ที่แบ่งออกมาสามเกรดหลัก ซึ่งแยกเป็นเกรดใช้ในเชิงพาณิชย์ 2 เกรด และ เกรดใช้ที่บ้าน 1 เกรด

  • เกรด Home Use (ราคาต่ำสุด) ออกแบบมาสำหรับใช้งานในบ้าน มีแค่เกรดเดียว แตกต่างด้วยราคา ขนาด และฟังก์ชั่น ตามที่ได้อธิบายไปในข้อก่อนหน้า ลู่วิ่งเกรดนี้ส่วนมากจะพับเก็บเครื่องได้เวลาใช้งานเสร็จ
  • เกรด Semi-Commercial (ราคาสูงขึ้นมา) สำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือมีอีกชื่อเรียกว่า เกรด “กึ่งฟิตเนส” สำหรับใช้เป็นลู่วิ่งส่วนรวมเช่นใน คอนโด โรงแรม หรือในส่วนกลางหมู่บ้าน ที่ไม่ได้มีความหนาแน่นของการใช้งานสูงเหมือนในฟิตเนส โครงสร้างของเครื่อง ขนาดของพื้นที่วิ่ง ขนาดขอมอเตอร์ จะมีขนาดใหญ่กว่าเกรด Home Use
  • เกรด Full-Commercial (ราคาสูงที่สุด) สำหรับใช้งานเชิงพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบ เช่นในฟิตเนส ที่เก็บเงินจากลูกค้า จะเป็นเกรดที่แข็งแรงที่สุด น้ำหนักเครื่องสูง รับน้ำหนักผู้วิ่งได้สูง เพราะคนใช้งานนั้นมีหลากหลายรูปแบบสรีระ คุณภาพสูง ราคาสูง

คุณควรเลือกเกรดของลู่วิ่งให้เหมาะกับจุดประสงค์การใช้งาน ปัญหาส่วนมากที่เจอในเรื่องของความคงทนของสินค้าคือการใช้งานลู่วิ่งผิดวัตถุประสงค์ของเครื่อง เช่นใช้เครื่อง เกรด Home Use สำหรับส่วนกลางคอนโด โรงแรม หรือ ใช้ลู่วิ่งเกรด Semi-Commercial ในฟิตเนส 

ข้อ 4. ขนาดพื้นที่วิ่ง

ขนาดพื้นที่วิ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญลำดับต้นๆในการเปรียบเทียบลู่วิ่ง ความหมายของพื้นที่วิ่งคือส่วนที่เป็นสายพาน และเป็นส่วนที่เท้าสัมพัสได้ ข้อมูลตรงนี้ต้องดูให้ดี เพราะบางร้านอาจจะเขียนขนาดพื้นที่วิ่งและรวมขอบพักเท้าด้านข้างไปด้วยทำให้ลู่วิ่งดูมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าปกติ 

ขนาดพื้นที่วิ่งจะวัดเป็น กว้าง x ยาว และมีความสำคัญที่แตกต่างกัน

  • ความยาวของลู่วิ่ง : ความยาวของลู่วิ่งนั้นมีผลต่อส่วนสูงของคนวิ่ง โดยเฉพาะสำหรับคนที่ตัวสูงจะมีระยะก้าวที่ยาว การที่พื้นที่วิ่งสั้นจะทำให้วิ่งก้าวเท้าได้ไม่เต็มที่
  • ความกว้างของลู่วิ่ง : มีผลด้านความสบาย และ ความปลอดภัย ยิ่งลู่วิ่งที่พื้นที่วิ่งกว้าง จะทำให้ผู้วิ่งรู้สึกมีอิสระในการวิ่ง  ไม่ต้องกังวลเรื่องการวางเท้าเวลาวิ่ง และยังปลอดภัยกว่า เพราะเวลาวิ่งแล้วโอกาสที่เท้าจะไปโดนขอบพักเท้านั้นมีน้อย

แน่นอนว่า ลู่วิ่งที่มีพื้นที่วิ่งกว้างมากและยาวมาก มักจะมีราคาที่สูงตามขึ้นมา เพราะโครงสร้างเครื่องจะใหญ่ตามเพื่อรองรับพื้นที่วิ่งที่ใหญ่ขึ้น ในส่วนถัดไปจะมีคำอธิบายที่ละเอียดขึ้นเกี่ยวกับ ความกว้าง และ ความยาว ของพื้นที่วิ่ง

เปรียบเทียบ พื้นที่วิ่งแคบ vs. กว้าง

จากตัวอย่างภาพด้านบน ลู่วิ่งที่มีพื้นที่วิ่งที่แคบ จะเหลือพื้นที่ก่อนถึงขอบพักเท้าน้อยกว่า และ ลู่วิ่งที่มีพื้นที่วิ่งกว้าง จะสังเกตได้ว่าเหลือพื้นที่ก่อนถึงขอบพักเท้า

  • พื้นที่วิ่งที่กว้างกว่า จะให้อิสระในการวิ่งมากกว่า สามารถวิ่งได้โดยไม่ต้องกังวลว่าเท้าจะโดยขอบพักเท้า
  • ปลอดภัยกว่า สำหรับคนที่วิ่งเร็ว เพราะเวลาวิ่งเร็ว ผู้วิ่งจะควบคุมเท้าให้เป็นเส้นตรงได้ยาก และอาจจะมีอาการเซไปมา แต่เมื่อพื้นที่วิ่งกว้าง ไม่ว่าจะเซไปทางไหน ก็จะไม่โดนขอบพักเท้า ทำให้ไม่เกิดอันตราย
  • แต่สำหรับผู้ที่ใช้ลู่วิ่งในการเดิน หรือ จ๊อกกิ้ง สามารถประหยัดงบประมาณโดยการที่ไม่ต้องเลือกพื้นที่วิ่งที่กว้างนัก เพราะการใช้งานในความเร็วต่ำ ผู้วิ่งยังสามารถควบคุมเท้าให้ไม่เซไปมาได้ง่ายกว่าคนที่วิ่งเร็ว

คำแนะนำมาตรฐาน

  • เลือกลู่วิ่งที่กว้างที่สุด ถ้าไม่ติดปัญหาเรื่องงบประมาณ
  • สำหรับเดิน หรือ จ๊อกกิ้ง ให้เลือกพื้นที่วิ่งที่มีความกว้าง ตั้งแต่ 40-45cm
  • สำหรับคนที่วิ่งจริงจัง วิ่งเร็ว ให้เลือกพื้นที่วิ่งที่กว้างตั้งแต่ 45cm เป็นต้นไป

ข้อ 5. ควรเลือกลู่วิ่งที่ พื้นที่วิ่งยาวแค่ไหน

ลู่วิ่งส่วนมากที่จำหน่ายในเมืองไทยนั้นออกแบบมาให้มีความยาวเหมาะสมกับมาตรฐานความสูงของคนเอเชีย เว้นแต่ว่าคุณเป็นคนตัวสูง ให้เลือกลู่วิ่งที่มีพื้นที่ยาวไว้ก่อน แต่หากคุณมีส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณสามารถเลือกลู่วิ่งที่สั้นลงมาได้ เพื่อประหยัดงบ ประมาณ

จากภาพเราจะเห็นว่าการเลือกลู่วิ่งที่ไม่เหมาะสมกับส่วนสูง จะทำให้ระยะก้าวเท้าของคุณเลยพื้นที่วิ่งได้ เพราะระยะก้าวของคนแต่ละสรีระนั้นแตกต่างกัน คนที่ตัวสูงจะมีระยะเก้าท้าวที่ยาว และหากยิ่งวิ่งเร็ว ระยะก้าวก็จะยิ่งยาวมากขึ้นไปอีก 

 

คำแนะนำในการเลือกขนาดความยาว

เราแนะนำให้คุณเลือกความยาวลู่วิ่งตามขนาดส่วนสูงผู้ใข้งาน หากเรานำลู่วิ่งไปใช้แบ่งกับคนในครอบครัว ให้เลือกจากคนใช้งานที่ตัวสูงที่สุดตามคำแนะนำด้านล่างนี้

  • ส่วนสูง น้อยกว่า 150cm : เลือกลู่วิ่งยาว 120cm.
  • ส่วนสูง 150-160cm : เลือกลู่วิ่งยาว 130cm. 
  • ส่วนสูง 160-170 : เลือกลู่วิ่งยาว 140ccm.
  • ส่วนสูง 170-180cm : เลือกลู่วิ่งยาว 150cm.
  • ส่วนสูงมากกว่า 180cm : เลือกลู่วิ่งยาว 160cm,

 

ข้อ 6. พื้นที่ในการวางลู่วิ่ง

การเช็คข้อมูลเรื่องขนาดลู่วิ่งนั้นสำคัญมากสำหรับบ้านที่มีพื้นที่จำกัดและต้องการข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อเลือกพื้นที่ในการวางก่อนการจัดส่งติดตั้ง

ขนาดลู่วิ่งที่ถูกต้อง ต้องวัดจากจุดที่ กว้าง ยาว และ สูงที่สุดของเครื่อง ลู่วิ่งแต่ละตัวจะมีตำแหน่งในการวัดที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของเรา เราพบว่าข้อมูลขนาดสินค้า เป็นข้อมูลที่มีความไม่ถูกต้องสูงที่สุด เราแนะนำให้สอบถามร้านค้าให้แน่ชัดว่าขนาดเท่าไหร่ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

คำแนะนำการเว้นพื้นที่สำหรับวางลู่วิ่ง

เมื่อเรารู้ขนาดลู่วิ่งที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคำนวณขนาดพื้นที่ในการวาง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าห้องที่เราเตรียมไว้วางลู่วิ่งนั้น มีขนาดที่เพียงพอหรือไม่ 

เราแนะนำให้เผื่อระยะห่างในแต่ละด้านของลู่วิ่งดังนี้

  • ด้านหลังเครื่อง : ให้เว้นระยะห่าง 180cm ขึ้นไป เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ในกรณีฉุกเฉินที่มีการลื่นล้ม จะยังมีพื้นที่เหลือที่ตัวจะไม่โดนกำแพง
  • ด้านข้างเครื่อง: ให้เว้นระยะห่าง 60cm ขึ้นไป สำหรับการขึ้นลงลู่วิ่งจากด้านข้างได้ สะดวก และ ปลอดภัย
  • ด้านหน้าเครื่อง : ให้เว้นระยะห่าง 60cm ขึ้นไป เพื่อให้มอเตอร์มีพิ้นที่ให้การระบายอากาศ เพราะหากเราวางส่วนด้านหน้าของลู่วิ่งติดกำกับแพงเกินไป จะทำให้มะเตอร์มีที่ระบายอากาศน้อย และ ลดอายุการใช้งานได้

ข้อ 7. ความสำคัญของขนาดขอบพักเท้า

ขอบพักเท้าคือส่วนที่อยู่ด้านข้างสายพานที่ใช้สำหรับเหยียบและยืนพักเวลาเหนื่อย ขนาดของขอบพักเท้านั้นมีความสำคัญในกรณีที่ผู้ใช้งานมีการพักระหว่างวิ่ง ซึ่งหากขอบพักเท้านั้นเล็กเกินไป จะทำให้เหยียบได้ไม่มั่นคง ทรงตัวยาก และอาจล้มได้ 

ไม่มีคำแนะนำตายตัวสำหรับขนาดขอบพักเท้าที่ควรเลือก เพราะรองเท้าของแต่ละผู้ใช้งานนั้นจะมีขนาดที่แตกต่างกัน แนะนำให้ลองสินค้าด้วยตนเองที่โชว์รูม และเลือกขนาดที่ใหญ่พอดีกับเท้า เพื่อที่จะได้เหยียบได้อย่างมั่งคง ปลอดภัย

ข้อ 8. ระบบลดแรงกระแทก คืออะไร?

ข้อได้เปรียบที่สำคัญมากของการวิ่งบนลู่วิ่ง เมื่อเทียบกับการวิ่งบนพื้นถนน ก็คือเรื่องของระบบรับแรงกระแทก ลู่วิ่งทุกตัวจะออกแบบให้มีมีระบบรับแรงกระแทกติดมาด้วย ข้อดีคือ (1) ช่วยให้วิ่งแล้วนุ่ม และ (2) ช่วยเซฟข้อเข่า มากกว่าการวิ่งบนถนน 

ระบบลดแรงกระแทกนั้นเปรียบเสมือนรองเท้าวิ่งดีๆ ที่ออกแบบให้มีตัวรับแรงกระแทก ทำให้วิ่งแล้วนุ่มกว่า ปลอดภัยต่อข้อเข่ามากกว่า 

สำหรับคนที่กังวลเรื่องปัญหาข้อเข่าในการวิ่ง หากเราใส่รองเท้าวิ่งที่ดี บวกกับการวิ่งบนลู่วิ่งที่มีระบบรับแรงกระแทก จะเซฟข้อเข่ากว่าการวิ่งบนถนนได้แน่นอน

ตัวอย่างระบบลดแรกกระเทกที่เห็นได้บ่อย

ระบบรับแรงกระแทกของลู่วิ่งนั้นมีหลากหลาย แต่ละรุ่น แต่ละร้านค้า จะมีระบบที่ไม่เหมือนกัน คำถามที่ผู้ซื้อสงสัยกันมามากคือ “ระบบไหนดีกว่ากัน” ซึ่งไม่ว่าร้านไหนจะเคลมว่าระบบตัวเองนั้นดีกว่า คำตอบจริงๆคือ “ไม่มีระบบไหนดีกว่ากัน” เพราะระบบรับแรงกระแทกที่เรามองเห็น เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการลดแรงกระแทกเท่านั้น ยังมีส่วนอื่นๆที่มีผลอีกมากมายเช่น ไม้กระดาน และ การออกแบบโครงสร้าง ที่เรามองไม่เห็น ซึ่งมีผลต่อการรับแรงกระแทกโดยรวม

เรามาดูตัวอย่างระบบลดแรงกระแทก 4 แบบ

  1. ระบบ แอร์-คุชชั่น (AIR-CUSHION) : ลักษณะคือมีอากาศอยู่ข้างใน เหมือนสันรองเท้ากีฬา
  2. ระบบ โช็ค (SHOCK) : ลักษณะเหมือนโช็คที่อยู่ในรถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซต์
  3. ระบบ ยางซับแรง (SOFT CUSHION) : ลักษณะเป็นยางนิ่มๆ มีความยือหยุดสูง
  4. ระบบ สปริง (SPRING) : ลักษณะเป็นขดสปริงซับแรงเวลากระแทก

คำแนะนำของเราคือ 

(1) ควรเลือกลู่วิ่งรุ่นที่มีระบบรับแรงกระแทก ควรเลือกลู่วิ่งรุ่นที่มีระบบบรับแรงกระแทก ซึ่งย่อมดีกว่ารุ่นที่ไม่มี

(2) แนะนำให้ทดลองวิ่งลู่วิ่งตัวที่สนใจที่โชว์รูมก่อนตัดสินใจ เพราะลู่วิ่งแต่ละรุ่นจะมีความนุ่ม และความแข็งไม่เหมือนกัน บางตัวออกแบบมาให้วิ่งแล้วนุ่ม บางตัวออกแบบมาให้วิ่งแล้วแข็ง ใกล้เคียงการวิ่งบนถนน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล ว่าชอบการวิ่งฟีลลิ่งประมาณไหน เช่นคนที่ต้องการเซฟข้อเข่า อาจจะเลือกลู่วิ่งที่ทดลองวิ่งแล้วนุ่มกว่า ส่วนคนที่วิ่งจริงจัง ฝึกซ้อมวิ่งเป็นประจำ ทั้งบนลู่วิ่ง และ บนถนน อาจจะเลือกวิ่งบนลู่วิ่งที่แข็งขึ้นมาหน่อย เพื่อให้ใกล้เคียงกับการวิ่งจริง

 

บางรุ่นมองไม่เห็นจากภายนอก ไม่ได้แปลว่าไม่มี

ลู่วิ่งบางรุ่นมองจากภายนอกอาจจะไม่เห็นระบบรับแรงกระแทก แต่ไม่ได้แปลว่า ไม่มีระบบรับแรงกระแทก ลู่วิ่งบางรุ่นออกแบบเพื่อความสวยงาม ด้วยการซ่อนตัวซับแรงกระแทกไว้ใต้ไม้กระดาน เช่นจากตัวอย่างลู่วิ่งในภาพด้านบน มีระบบรับแรงกระแทก SOFT CUSHION อยู่ด้านละ 8 จุด ที่มองไม่เห็น

ทางที่ดีที่สุดคือการสอบถามร้านค้าให้แน่ชัดถึงระบบรับแรงกระแทกของเครื่องตัวที่คุณสนใจ

ข้อ 9. รับน้ำหนักผู้ใช้งาน

ผู้ซื้อส่วนมากจะดูว่าลู่วิ่งที่ตัวเองสนใจนั้นรับน้ำหนักได้เท่าไหร่ และเลือกซื้อเมื่อน้ำหนักตัวเองนั้นน้อยกว่าการรับน้ำหนักสูงสุดของลู่วิ่งตัวนั้น ซึ่งเป็นการตัดสินใจด้วยปัจจัยเดียว 

แต่จริงๆแล้วมีอยู่ 3 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง สำหรับการรับน้ำหนักของลู่วิ่ง

  1. น้ำหนักผู้ใช้งาน : ซึ่งก็คือปัจจัยแรกที่กล่าวไปข้างต้น เมื่อเรารู้น้ำหนักผู้ใช้งาน เราก็จะสามารถหาลู่วิ่งที่มีสเปคสามารถรับน้ำหนักเราได้
  2. น้ำหนักเครื่อง : เป็นปัจจัยที่ 2 ที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง แนะนำให้เลือกลู่วิ่งที่ “มีน้ำหนักเท่ากันกับน้ำหนักผู้ใช้งาน หรือ มากกว่า” ยิ่งผู้ใช้งานมีน้ำหนักตัวมากเท่าไหร่ ควรเลือกลู่วิ่งที่มีน้ำหนักเครื่องเยอะเท่านั้น เพราะมีผลต่อความมั่นคงของเครื่องเวลาวิ่ง
  3. ขนาดมอเตอร์ : เป็นปัจจัยที่ 3 ซึ่งมีความสำคัญมากต่อความคงทนของเครื่อง เช่นหากคุณน้ำหนักตัวมาก แต่เลือกมอเตอร์ที่เบา จะทำให้อายุการใช้งานมอเตอร์นั้นสั้นลง เพราะมอเตอร์ทำงานหนักขึ้นในการขับเคลื่อนตัวเราที่วิ่งอยู่บนสายพาน

 

 

คำแนะนำมาตรฐาน

คำแนะนำมาตรฐานของเราเพื่อการเลือกลู่วิ่งที่เหมาะสม และใช้งานได้นานโดยไม่มีปัญหาภายหลัง เป็นดังนี้

  1. น้ำหนักผู้ใช้งาน : น้ำหนักผู้ใช้งานต้องไม่เกินน้ำหนักสูงสุดที่ลู่วิ่งรับได้ แต่หากให้ดีควรหาลู่วิ่งที่รับน้ำหนักสูงสุดได้ โดยเอาน้ำหนักตัวเรา บวกอีก 50 กิโล เช่นหากคุณน้ำหนักตัว 85 กิโล ให้บวกอีก 50 กิโล และหาลู่วิ่งที่รับน้ำหนักได้ 135 กิโล เป็นอย่างต่ำ
  2. น้ำหนักเครื่อง : แนะนำให้เลือกลู่วิ่งที่มี “น้ำหนักเครื่อง เท่ากัน หรือ มากกว่า น้ำหนักผู้วิ่ง” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเสถียรเวลาวิ่ง 
  3. ขนาดมอเตอร์ : มอเตอร์ที่ใหญ่จะลากสายพาน และผู้วิ่งโดยที่มอเตอร์ไม่ทำงานหนักเกินไป ทำให้ยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ได้นานขึ้น
    • น้ำหนักตัว น้อยว่า 50 กิโล : เลือกมอเตอร์ 2 – 2.5 แรงม้า
    • น้ำหนักตัว 50-70 กิโล : เลือกเมตอร์ 3 – 3.5 แรงม้า
    • น้ำหนักตัว 70-100 กิโล : เลือกมอเตอร์ 4 แรงม้าขึ้นไป

ข้อ 10. ความสำคัญของน้ำหนักเครื่อง

น้ำหนักเครื่องนั้นมีผลโดยตรงต่อความแข็งแรง น้ำหนักเครื่องลู่วิ่งที่สูง มาจากโครงสร้างเหล็กที่ใหญ่ และ แข็งแรง และลู่วิ่งที่มีน้ำหนักมาก จะให้ความมั่นคงในการวิ่งที่มากกว่าลู่วิ่งที่มีน้ำหนักเครื่องเบา

ข้อสังเกต : ลู่วิ่งส่วนใหญ่ที่ใช้
ในส่วนกลางเช่น คอนโด โรงแรม และ ลู่วิ่งที่ใช้ในฟิตเนส ล้วนแต่เป็นลู่วิ่งที่ดูตัวเครื่องใหญ่ และดูแข็งแรง เหตุผลก็คือในกิจการเหล่านี้ ลูกค้าที่มาวิ่งมีทั้งคนน้ำหนักตัวน้อย และน้ำหนักตัวมาก การที่ลู่วิ่งมีน้ำหนักเครื่องมากจะสามารถให้ความมั่นคงในการวิ่งได้มากกว่า เมื่อต้องรองรับผู้วิ่งที่น้ำหนักตัวมาก เพราะเวลาวิ่ง ผู้วิ่งจะส่งแรงกระแทกจากน้ำหนักตัวลงสู่ลู่วิ่ง เมื่อน้ำหนักตัวมาก และ ลู่วิ่งมีน้ำหนักเบา เวลาวิ่งเครื่องอาจจะเกิดการโคลงเคลงได้

ตัวอย่าง :

  • ลู่วิ่งหนักกว่าคนวิ่ง : เช่น น้ำหนักคนวิ่ง 90 กิโล วิ่งบน ลู่วิ่งน้ำหนักเครื่อง 120 กิโล จะทำให้วิ่งแล้วนิ่งไม่โคลงเคลง
  • ลู่วิ่งเบากว่าคนวิ่ง : เช่น น้ำหนักคน 90 กิโล วิ่งบน ลู่วิ่งน้ำหนักเครื่อง 60 กิโล จะทำให้เครื่องโครงเคลงได้เวลาวิ่ง

จากข้อที่จะเห็นได้ว่า เราไม่ควรมองสเปคการรับน้ำหนักสูงสุดของลู่วิ่งเพียงอย่างเดียว เราต้องมองน้ำหนักตัวของเรา ประกอบกับ น้ำหนักเครื่องของลู่วิ่ง ก่อนการตัดสินใจซื้อ

ข้อ 11. ความเร็วลู่วิ่ง

ความเร็วลู่วิ่งที่เป็นตัวเลขแสดงที่หน้าจอ จะแสดงหน่วยวัดเป็นความเร็ว กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ลู่วิ่งทุกตัวจะมีความเร็วต่ำสุด และ ความเร็วสูงสุด ซึ่งแต่ละตัวจะมีความเร็วไม่เท่ากัน

ลู่วิ่งส่วนมากจะมีความเร็วต่ำสุดตั้งแต่ 0.8 – 1 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง และมีความเร็วสูงสุดตั้งแต่ 15 – 25 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง

สำหรับความเร็วสูงสุดที่แตกต่างกันของแต่ละเครื่อง ส่วนนึงมีผลมาจากกำลังมอเตอร์ที่ลู่วิ่งตัวนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ลู่วิ่งที่มีความเร็วสูงสุด 22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะมีมอเตอร์ที่แรงกว่า ลู่วิ่งที่มีความเร็วสูงสุด 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยจะเหมือนกับรถยนต์
เหมือนกับรถยนต์ ลู่วิ่งบางตัวมีการล็อคความเร็วสูงสุดไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มอเตอร์โหลดการทำงานหนักเกินไป เพราะฉะนั้นให้เลือกลู่วิ่งที่มีความเร็วสูงสุดที่เราจำเป็นต้องใช้งานเป็นพอ

สำหรับความเร็วต่ำสุด ลู่วิ่งส่วนมากจะเริ่มต้นความเร็วที่ 1 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แต่สำหรับ คนที่ซื้อลู่วิ่งมาใช้เดิน หรือ ทำกายภาพบำบัด เช่นผู้พักพื้นหลังผ่าตัด อาจจะต้องมองหาลู่วิ่งที่เริ่มความเร็วได้ต่ำมาก เช่น 0.8 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง

จุดประสงค์ของความเร็วลู่วิ่งในแต่ละระดับ

การที่ผู้ใช้งานรู้จุดประสงค์ในการวิ่งนั้น จะทำให้สามารถเลือกลู่วิ่งที่เหมาะสมในงบประมาณของเรา โดยไม่จำเป็นต้องเลือกลู่วิ่งที่มีราคาสูงเสมอไป 

  • ความเร็ว 0-5 กม./ชม : ใช้สำหรับเดินเร็ว
  • ความเร็ว 6-9 กม./ชม : ใช้สำหรับ วิ่งจ็อกกิ้ง หรือ วิ่งออกกำลังกายปกติ
  • ความเร็ว 10-14 กม./ชม : ใช้สำหรับ วิ่งเร็ว
  • ความเร็ว 15-20nกม./ชม : ใช้สำหรับ วิ่งแบบสปริ้น เช่นในการวิ่งแบบ (HIIT)

ข้อ 12. ความชัน ของลู่วิ่งไฟฟ้า

ลู่วิ่งส่วนมากนั้นสามารถปรับความชันได้ การปรับความชันก็คือปรับความลาดเอียงของพื้นที่วิ่ง เปรียบเสมือนเราวิ่งขึ้นเขา และใช้พนักงานในการวิ่งมากและเผาผลาญไขมันได้มากว่าการวิ่งแบบปกติ

สำหรับลู่วิ่งที่ปรับความชันได้ จะมีการปรับอยู่ 2 ประเภท

  1. ปรับด้วยไฟฟ้า แบบกดปุ่ม (Automatic)
  2. ปรับด้วยมือ (Manual)

สำหรับการอ่านสเปคสินค้า ลู่วิ่งที่มีระดับความชันเท่ากัน ไม่ได้หมายความว่าจะมีองศาความชันเท่ากัน ทางที่ดีที่สุดคือทดลองระดับความชันของลู่วิ่งตัวนั้นที่โชว์รูม

เปรียบเทียบประเภทความชัน

  1. ปรับด้วยไฟฟ้า แบบ กดปุ่ม : เรียกว่าระบบปรับความชันแบบอัตโนมัติ เป็นระบบที่ใช้งานง่ายที่สุด เพียงกดปุ่มจากหน้าจอลู่วิ่ง ความชันจะปรับขึ้นลงให้อัตโนมัติจากการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า ข้อดีคือความสะดวกสะบายในการใช้งาน ปรับได้หลายระดับ (ส่วนมากจะปรับได้10 – 15 ระดับ) และสามารถปรับตอนที่เราวิ่งอยู่ได้ แต่จะมีราคาสูงกว่ารุ่นที่ปรับความชันด้วยมือ
  2. ปรับด้วยมือ : เรียกว่าระบบ Manual ปรับด้วยการถอดสลักที่ด้านท้ายลู่วิ่ง วิธีการปรับต้องถอดสลักออก และยกไม้กระดานวิ่งให้ได้ระดับความชันที่เราต้องการ เสร็จแล้วใส่สลักกลับเข้าไปเพื่อล็อคระดับความชันไว้ ส่วนมากจะปรับได้เพียง 1-3 ระดับ และไม่สามารถปรับตอนที่เราวิ่งอยู่ได้ 
  3. ปรับความชันไม่ได้ : ลู่วิ่งบางตัวปรับความชันไม่ได้ ส่วนมากจะอยู่ในลู่วิ่งราคาเริ่มต้น ไม่แพง 

ข้อ 13. ฟังก์ชั่นหน้าจอ

ลู่วิ่งไฟฟ้าทุกตัวจะมีฟังก์ชั้น และ รูปแบบหน้าจอที่แตกต่างกัน แต่จะมีอยู่ 6 ฟังก์ชั่นหลัก ที่ลู่วิ่งควรมีได้แก่ 

  • ความเร็ว : แสดงค่าความเร็วในการวิ่ง เป็น กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  • ความชัน : เฉพาะในลู่วิ่งที่ปรับความชันด้วยไฟฟ้าเท่านั้น จะแสดงค่าความชันเป็น ระดับปัจจุบันที่ใช้งาน
  • แคลอรี่ : วัดการเผาผลาญของแคลอรี่ ในช่วงเวลาวิ่ง
  • ระยะทาง : แสดงหน่วยเป็น กิโลเมตร ที่วิ่ง
  • ชีพจร : แสดงอัตราการเต้นของหัวใจ วัดโดยการสัมผัสแถบแม่เหล็กที่อยู่ตรงมือจับของเครื่อง
  • เวลา : แสดงเวลาในการวิ่ง เป็นการนับเวลาแบบเดินหน้า (ลู่วิ่งบางตัวสามารถตั้งเวลานับถอยหลังได้ หากคุณชอบฟังก์ชั่นนี้ สอบถามกับร้านค้าให้แน่ชัด

ลู่วิ่งบางตัวอาจจะมีฟังก์ชั่นเสริมมากกว่านี้ แต่ 6 ฟังก์ชั่นนี้เป็นฟังก์ชั่นที่ขาดไม่ได้เลยในลู่วิ่งไฟฟ้า

ลู่วิ่งส่วนมากมีลำโพงติดมากับเครื่อง

คุณสามารถเปิดเพลงจากลู่วิ่งได้ เพื่ออรรถรสในการวิ่ง ลู่วิ่งส่วนมากมีลำโพงติดมากับเครื่องด้วย (แต่ทางที่ดีควรสอบถามร้านค้าให้แน่ชัดว่ามีหรือไม่) แน่นอนว่าลำโพงในลู่วิ่งนั้นไม่ได้ดีมากเหมือนลำโพงปกติ แต่สามารถใช้งานได้ สำหรับคนที่ไม่อยากใส่หูฟังเวลาวิ่ง

วิธีการเชื่อมต่อลำโพงมีอยู่ 2 แบบหลัก

  1. เชื่อมต่อผ่านสาย AUX : ลู่วิ่งจะมีรูสาย AUX มาให้ เสียบสายเข้ากับมือถือของคุณ เพียงแค่นี้ก็สามารถใช้งานลำโพงได้ *ในกรณีที่ใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีรูเสียบสาย AUX ต้องหาตัวแปลงมาใส่ 
  2. เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth : เป็นการเชื่อมต่อที่ง่ายและทันสมัย เหมือนกับการเชื่อมต่อหูฟังทั่วๆไป ใช้งานง่ายกว่า

ลู่วิ่งบางตัวมีที่ให้เสียบ USB Flash Drive เพื่อฟังเพลง (เอาเพลงใส่ Flash Drive และเสียบเข้ากับช่อง USB ในลู่วิ่ง) แต่เป็นวิธีแต่เป็นวิธีที่เก่าและส่วนใหญ่ไม่มีคนใช้วิธีนี้แล้ว

ข้อ 14. โปรแกรมวิ่งอัตโนมัติ

ลู่วิ่งเกือบทุกตัวมีโปรแกรมวิ่งอัตโนมัติติดมาให้ เพื่อเพิ่มความสนุกในการวิ่ง สามารถเข้าใช้งานและเลือกโปรแกรมได้จากการกดปุ่มบนหน้าจอลู่วิ่ง

โปรแกรมวิ่งอัตโนมัติคืออะไร?

โปรแกรมอัตโนมัติคือการวิ่งที่ผู้ใช้งาน ไม่ต้องปรับ ความเร็วหรือความชันเอง ระบบจะปรับขึ้นลงให้คุณอัตโนมัติ ซึ่งช่วงเพิ่มความสนุก และ ความท้าทายในการวิ่ง คุณยังสามารถกำหนดเวลาที่จะวิ่งได้ในแต่ละครั้งผ่านโปรแกรมอัตโนมัตินี้

สำหรับวิธีอ่านค่าโปรแกรม และเลือกโปรแกรมนั้นอาจจะดูสับสนสำหรับคนที่ไม่เคยใช้งาน เรามีคำอธิบายการดูง่ายๆในภาพถัดไป

วิธีอ่านค่าโปรแกรมอัตโนมัติ

โปรแกรมอัตโนมัติ จะปรับความเร็วขึ้นลงให้ผู้ใช้งานเอง คุณเพียงแค่เซ็ตเวลาที่ต้องการในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ส่วนมากวิธีการแสดงโปรแกรมที่เห็นบ่อยที่สุดจะเป็นรูปแบบกล่องสีเหลี่ยม กล่องที่ซ้อนกันมากขึ้นหมายถึงความเร็วที่จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนกล่องที่ซ้อนกันน้อยลง คือความเร็วที่ระบบจะปรับลดลง (ทั้งนี้แต่ละเครื่องอาจจะแสดงผลไม่เหมือนกัน ต้องตรวจสอบกับร้านค้าก่อนซื้อ)

จากตัวอย่างข้างบน สมมุติเราตั้งการทำงานโปรแกรมไว้ 20 นาที ทุกๆสองนาทีระบบจะปรับแรงต้านขึ้นลงให้เอง จากระดับ 2 ไป 4 ไป 6 ไป 8 ไป 10 และสังเกตุเมื่อกล่องสีเหลี่ยมลดลง ระบบจะปรับแรงต้านลงจาก 10 ไป 8 และปรับไปเรื่อยๆจนหมดเวลา 20 นาที

การอ่านค่าสำหรับโปรแกรมที่ปรับความชันได้

หากคุณสังเกตเห็นเส้นอยู่บนกล่องความเร็ว แปลว่าโปรแกรมอัตโนมัตินั้นสามารถจะปรับทั้งความชันและความเร็วพร้อมๆกันได้ เส้นจะบอกถึงระดับความชันที่จะปรับเองอัตโนมัติ (บางรุ่นอาจจะไม่ได้แสดงเป็นเส้นสีแดง) 

เส้นความชันจะไม่ได้แสดงบนหน้าจอมอนิเตอร์ เพราะบนหน้าจอจะแสดงเป็นตัวเลขความชันปัจุบันขณะวิ่งอยู่เท่านั้น

ข้อ 15. การพับเก็บได้

ลู่วิ่งที่ใช้ในบ้านเกรด Home Use ส่วนมากจะสามารถพับไม้กระดานวิ่งเก็บได้ เพื่อให้ประหยัดพื้นที่หลังใช้งานเสร็จ ผู้ใช้งานสามารถสอบถามร้านได้ว่าลู่วิ่งตัวนั้นพับเก็บได้หรือไม่ วิธีเก็บลู่วิ่งนั้นใช้เวลาไม่นาน และสามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว เพียงยกด้านท้ายของลู่วิ่งขึ้น และล็อคเข้ากับโช็คไฮดรอลิค และเมื่อต้องการใช้งาน ก็สามารถกางออกได้อย่างง่ายดาย

ลู่วิ่งที่ตัวใหญ่ และเป็นเกรดใช้งานเชิงพาณิชย์จะไม่สามารถพับเก็บได้ ด้วยโครงสร้างที่ออกแบบมาไม่เหมือนกัน เช่นลู่วิ่งใน ฟิตเนส หรือ โรงแรม

ข้อ 16. การดูแลรักษาลู่วิ่ง

วิธีดูแลรักษาลู่วิ่งเพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นาน ได้แก่ 

  1. หยอดน้ำมันหล่อลื่นใต้สายพาน แบบสม่ำเสมอ : การลงน้ำมันหล่อลื่นช่วยลดความร้อนและลดการเสียดสี ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของสายพานได้
  2. ปรับสายพานให้ตรง : ลู่วิ่งเมื่อใช้งานไปซักพักสามารถอาจจะหย่อนและเคลื่อนที่ได้ ให้ทำการเช็คสายพานอย่างสม่ำเสมอว่าตรงอยู่หรือไม่ และหากไม่ตรงสามารถปรับสานพานให้กลับมาตรงใหม่ได้ (ลู่วิ่งทุกตัวสามารถปรับตั้งสายพานได้)
  3. ใช้งานเครื่องอย่างสม่ำเสมอ : ลู่วิ่งไฟฟ้าเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆไป เพราะฉะนั้นการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เครื่องทำงานเป็นปกติได้มากกว่า และช่วยยืดอายุการใช้งานได้
วิธีเลือกซื้อลู่วิ่ง-as21

วิธีหยอดน้ำมันหล่อลื่นใต้สายพาน

น้ำมันหล่อลื่นนั้นมีทั้งแบบเป็นสเปรย์ฉีด และแบบเป็นขวดน้ำมัน วิธีลงน้ำมันนั้นเหมือนกัน แต่ในบทความนี้จะมาสอนวิธีลงน้ำมันแบบ ขวดน้ำมัน

  1. หยอดน้ำมันหล่อลื่นลงบนกระดานวิ่ง หยอดให้ลึกที่สุด หยอดให้เป็นลักษณะรูปฟันปลา และทำให้ครบทั้งสองด้าน
  2. เปิดเครื่อง และขึ้นไปเดินเพื่อให้สายพาน และ ไม้กระดานสัมผัสกันเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันกระจายทั่วสายพาน

สำหรับความถี่ในการหยอดน้ำมันหล่อลื่น ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งานแต่ละวัน ยิ่งใช้งานมากยิ่งต้องหยอดน้ำมันบ่อย

  • ใช้งานมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน : ให้หยอด ทุกๆ 20 วัน
  • ใช้งาน 30นาที – 1 ชั่วโมงต่อวัน : ให้หยอดทุกๆ 30 วัน
  • ใช้งานน้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน : ให้หยอดทุกๆ 60 วัน 

วิธีตั้งสายพานลู่วิ่งไฟฟ้า

ลู่วิ่งทุกตัวจะสามารถตั้งสายพานได้ โดยใช้ที่ขันหางปลา และขันที่ด้านท้ายของเครื่อง ซึ่งจะมีอยู่ในทุกเครื่อง การตั้งสายพานทำได้ตามขั้นตอนนี้

  1. เปิดเครื่อง
  2. ปรับความเร็วไปที่ 4 – 7 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
  3. สังเกตสายพานเอียงด้านไหน หากสายพานเอียงชิดไปด้านขวา ให้ขันที่รูซ้าย และ หากสายพานเอียงไปด้านซ้าย ให้ขันที่รูขวา
  4. ใช้หกเหลี่ยมขันที่หางปลาหลังเครื่อง โดยการขันตามเข็มนาฬิกา ทีละประมาณ 1 ส่วน 4 หลังจากนั้นค่อยสังเกตดูว่าสายพานกลับมาตั้งตรงกับไม้กระดานแล้วหรือยัง 

และนี้ก็คือ 16 สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเลือกลู่วิ่งไฟฟ้า

เมื่อคุณอ่านจบแล้ว และยังมีข้อสงสัยอยู่ เรายินดีให้คำแนะนำเพิ่มเติม  หรือ

หากคุณต้องการดูลู่วิ่งไฟฟ้าที่เราคัดมาให้แล้ว และอยาก
ทดลองเครื่องจริงๆ ที่โชว์รูมของเรา กดปุ่มด้านล่าง